วิทยากรด้านการสื่อสาร แชร์เรื่อง การสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล Digital Communication


วิทยากรด้านการสื่อสาร


วิทยากรด้านการสื่อสาร คนนี้ ค่อนข้างจะมีคิวสัมภาษณ์ที่ติดต่อกันไว้ยาวนาน อันเนื่องมาจากธุรกิจที่เขากำลังทำอยู่ในทุกๆวัน รวมถึง การได้รับเชิญไปบรรยายในสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ภาคเหนือจรดใต้ จึงทำให้เราต้องรอระยะเวลาพอสมควร กว่าจะได้มาพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับ การสื่อสารในยุค digital คงจะไม่ต้องพูดหรือเล่าความนิยมของบุคคลคนนี้มากไปกว่านี้แล้ว เพราะถ้าคิวยาวขนาดนี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าต้องได้รับความนิยมเป็นอย่างมากแน่นอน

หรือถ้าใครที่สนใจ ประวัติวิทยากร คร่าวๆของผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ ก็สามารถค้นหาได้ผ่านทาง Google รับรองว่า คุณจะได้พบเรื่องราว บทความ และ เว็บไซต์ต่างๆ ที่พูดถึงนักการตลาด นักธุรกิจ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังคนนี้ อย่างแน่นอน

ดังนั้น เราจะมาเริ่มพูดคุยกับคนเก่งคนนี้ไปพร้อมๆกัน

จากความหมายเบื้องต้น ก็ฟังดูน่าจะเป็นประโยชน์ครอบคลุมได้ทั้งหมดแล้ว แต่แล้วทำไม คำว่า ไอซีที กลับถูกลดความนิยม ความครอบคลุม ลงไปจนปัจจุบันพูดกันแต่เรื่องของ ดิจิทัล ที่แม้แต่ทางรัฐบาลไทยก็ยังต้องปรับตัว สาเหตุในเชิงลึก ที่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นั้นอาจจะมีเบื้องลึกเบื้องหลังอะไรก็แล้วแต่ แต่ในฐานะนักการตลาดออนไลน์ ก็ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเชิงของการวิเคราะห์ไว้เบื้องต้นในลักษณะนี้ คือ



ถาม: ช่วยแนะนำตัวหน่อยครับ



ผมชื่อ ธิติพล เทียมจันทร์ หรือ ที่ผู้เข้าอบรมและผู้ที่ทำงานร่วมกันส่วนใหญ่ มักจะเรียกว่า อาจารย์แชมป์ เนื่องจากส่วนใหญ่จะได้รับเชิญไปเป็น วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการสื่อสาร การตลาด และ การทำธุรกิจออนไลน์ ecommerce อยู่เรื่อยๆ จึงทำให้คนเรียกผมติดปากว่า อาจารย์แชมป์ ซึ่งในความจริงแล้ว ก็ไม่ได้เป็นอาจารย์สอนประจำอยู่ที่ไหน
จะมีบ้าง ที่ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษ หรือ อาจารย์รับเชิญเพื่อบรรยายในโอกาสต่างๆ ทั้ง สัมมนา เสวนา และ การอบรมทั่วๆไป แต่ ปัจจุบัน ธุรกิจหลักที่ทำ คือ งานที่ปรึกษาธุรกิจออนไลน์ และ เป็นเจ้าของเว็บบล็อค webblog เกี่ยวกับ การตลาดออนไลน์ ที่ชื่อ brandingchamp.com



ถาม: ทำไมถึงเข้ามาเป็น วิทยากรด้านการสื่อสาร ได้



ในความเป็นจริงแล้ว ผมเรียนจบโดยตรงในระดับปริญญาโท เกี่ยวกับการสื่อสาร โดยหลักสูตรที่ผมเรียน คือ Master of Information and Communication Technology หรือ ที่มีตัวย่อว่า MICT จาก University of Wollongong ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถ้าใครได้ยินคำว่า ICT ก็น่าจะคุ้นหู เพราะเคยเป็นชื่อของกระทรวง กระทรวงหนึ่งในประเทศไทยเรา ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเป็นชื่อ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือตัวย่อ DES ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในส่วนของหลักสูตรที่ผมได้ปริญญาโทมา ก็จะเน้นหลักไปที่เรื่องของ การสื่อสาร และ เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ จะพูดง่ายๆ ก็คือ การใช้ข้อมูลต่างๆเพื่อสื่อสารหรือส่งสารออกไปในวงกว้างโดยใช้เรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมให้การสื่อสารเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น จะว่าไปเรื่องของการสื่อสารอยู่กับผมมาตั้งแต่สมัยเรียนเลยด้วยซ้ำ จนในที่สุด ก็ได้เข้ามาอยู่ในวงการของการตลาด ก็ได้ใช้ทักษะเหล่านี้ในการสร้างการสื่อสารทางการตลาดให้กับธุรกิจและกิจการหลากหลายให้ได้ประสบความสำเร็จดังที่ได้ตั้งเป้าไว้ และ ส่วนหนึ่งในสายเดียวกันกับการทำธุรกิจ ซึ่งใกล้เคียงกับการตลาดมากๆ นั่นก็คือ การสื่อสารเชิงการประชาสัมพันธ์ ซึ่งในจุดนี้เอง ก็มีความเกี่ยวข้องกับตัวผมอยู่ไม่น้อย เนื่องจากว่า จำเป็นจะต้องมีการทำพีอาร์ (Public Relations : PR) หรือ ประชาสัมพันธ์ให้กับ สินค้า ผลิตภัณฑ์ และ องค์กร รวมถึงอาชีพ ที่ปรึกษาธุรกิจออนไลน์ ของผมเอง ดังนั้น พูดง่ายๆว่า การสื่อสาร อยู่กับผมมายาวนานจนเรียกได้ว่าใช้ชีวิตอยู่กับมันตลอดเวลาเลยด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีโอกาสอยู่เสมอๆ ที่ได้รับเชิญไปเป็น วิทยากรด้านการสื่อสาร วิทยากรการสื่อสารการตลาด วิทยากรการตลาดออนไลน์ และ อีกมากมายในสายงานเกี่ยวกับการสื่อสาร ทั้งสิ้น ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ทุกๆคนได้หยิบยื่นให้ผม ส่วนตัวเองก็ชอบและรู้สึกสนุกอย่างยิ่ง ที่ได้นำเรื่องราวทางวิชาการ รวมถึง ประสบการณ์จริง ในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่เกี่ยวพันกับการสื่อสาร มาเล่าและบอกต่อให้กับทุกๆคน ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน



ถาม: การสื่อสารในอดีตกับการสื่อสารในยุค digital มีความแตกต่างกันอย่างไร



ในความคิดเห็นส่วนตัว และ ประสบการณ์ที่เคยได้รับเชิญไปบรรยายฐานะ วิทยากรด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัล โดยมาก ผมจะชี้ให้เห็นก่อนว่า การสื่อสารไม่เคยเปลี่ยนไปเลย ตั้งแต่มนุษย์อยู่ในยุคดึกดำบรรพ์ จนถึง ปัจจุบันที่เป็นยุค digital นี้เพียงแต่บริบทหรือองค์ประกอบหลายๆอย่างที่ทำให้การสื่อสารสมบูรณ์ขึ้น และ เปลี่ยนไปตามระยะเวลา เทคโนโลยี และ ความฉลาดของมนุษย์

ดังนั้น ถ้าเราจะแยกให้ชัดกันจริงๆก็คือ สิ่งที่มนุษย์พยายามจะสื่อสาร คือ ความพยายามในการให้ผู้รับสารหรือผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ผู้ส่งสารพยายามจะสื่อออกไป

ในอดีต สมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์ภาษา ทั้ง ภาษาพูดและภาษาเขียน ก็มีการสื่อสารเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว โดยอาจจะเป็นการ ใช้เสียง ท่าทาง หรือแม้กระทั่ง ภาพวาดบนผนังในถ้ำโบราณที่เราอาจจะเคยเห็นกัน จนมาถึง ในยุคที่ทุกวันนี้ คนในประเทศไทยบ้านเรา แทบจะไม่กดหมายเลขโทรศัพท์กันแล้ว แต่กลับใช้วิธีการโทรคุยติดต่อเพื่อสื่อสารกันผ่านการใช้ไลน์ line

นั่นก็ทำให้เห็นได้ว่า แม้ว่า รูปแบบหรือวิธีการจะต่างออกไป แต่ ความหมายของการสื่อสาร ก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ไลน์ LINE ในบ้านเราที่ค่อนข้างจะเป็นแอพฯ ที่เหมาะกับจริตของคนไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากว่า เราชอบอะไรที่ดูง่ายๆ สนุกสนาน และ ที่สำคัญ "ใช้ฟรี"
นั่นก็คือ เราสามารถ ส่งข้อความได้ พิมพ์แชทคุยกันได้ง่ายๆ สนุกสนานกับการส่งสติ๊กเกอร์ มากไปกว่านั้น ในกลุ่มของระดับช่วงอายหนึ่ง การส่งต่อภาพ สวัสดีวันจันทร์ ที่เป็นรูปดอกไม้ ก็ถือว่า เป็นการสื่อสารในรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งถ้ามองให้ลึกลงไปแล้ว การที่ผู้ใหญ่คนหนึ่ง ส่งรูปสวัสดีวันจันทร์เป็นรูปดอกไม้ให้กับเพื่อนๆและลูกหลาน นั่นคือ การที่พวกเขากำลังพยายามจะสื่อสารออกไปว่า วันนี้ฉันยังอยู่นะ ยังมีชีวิตอยู่ สามารถพูดคุยกันได้ อย่าลืมฉันนะ ซึ่งถ้ามองเผินๆแล้ว บางคนอาจจะรำคาญรูปดอกไม้และคำว่าสวัสดีวันต่างๆ ที่ถูกส่งมาให้ แต่ถ้าคุณเข้าใจเรื่องของการสื่อสารสำหรับคนแต่ละวัยแล้วล่ะก็ การได้รับรูปดอกไม้สวัสดีวันจันทร์จากพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ

นอกจากนั้น การสื่อสารโดยใช้ไลน์ LINE เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทย ให้ใช้โทรศัพท์ในรูปแบบปกติ ที่มีการคิดค่าบริการรายนาที หรือ เหมาจ่าย กำลังอยู่ในช่วงขาลง เพราะ คนส่วนใหญ่ที่มี ไลน์ line และ สามารถติดต่อกับเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง ที่ต่างคนต่างมี ไลน์ แล้วล่ะก็ ก็จะอาศัยเจ้าแอพฯ ไลน์ นี่แหละ ในการโทรหากัน โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นเพียงเรื่องของค่าอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่มีการเก็บค่าบริการรายนาทีตามเวลาที่โทรอีกต่อไป

ที่เล่ามาซะยืดยาว ก็คือ ความพยายามที่จะบอกว่า การสื่อสารในยุคดิจิตอล ที่ทุกคนมีเครื่องมือการสื่อสารที่เป็นอุปกรณ์มือถือที่เรียกว่า สมาร์ทโฟน smart phone ทำให้พฤติกรรมของการสื่อสารของเรา เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่อย่างที่บอก หลักการที่สำคัญของการสื่อสาร ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม



ถาม: การสื่อสารในยุคดิจิตอลมีผลต่อสังคมและคนในสังคมอย่างไร



เนื่องจากว่า การมีอินเทอร์เน็ต รวมถึง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในทุกวันนี้ ดีกว่าคนสมัยก่อน เพราะเราสามารถโลดแล่นไปในโลกออนไลน์ หาข้อมูลที่ต้องการ ค้นหาคำตอบบางอย่างที่เราอยากรู้ สามารถเกิดขึ้นได้ทันทีผ่านอุปกรณ์มือถือ ซึ่งทุกคนหรือเกือบทุกคนมีใช้งานกันเป็นเหมือนอุปกรณ์หลักในชีวิตประจำวันไปแล้ว ซึ่งด้วยความเปลี่ยนแปลงนี้ คนในอดีตอาจไม่เข้าใจและอาจจะเข้าไม่ถึง เนื่องจากว่า สมัยก่อนที่เราจะมีอินเตอร์เน็ตใช้ การเข้าถึงข้อมูล เข้าถึงสื่อ หรือ การต้องการคำตอบบางอย่าง เป็นไปได้ยาก

และ แม้ว่าจะมีอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมา ก็จำเป็นที่จะต้องใช้มันในลักษณะของการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายหรือมีราคาของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูง แต่ ปัจจุบันนี้ อย่างที่ได้บอกไว้ ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แบบที่เรียกว่า "ทันที" เลยก็ว่าได้ ถ้าเราอยากรู้คำตอบของอะไรสักอย่าง ก็เพียงแค่เปิดมือถือขึ้นมาแล้วค้นหาผ่าน Google

หรือ เราอยากจะรู้ว่า ตอนนี้เพื่อนของเราญาติของเรากำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้าไปดูเรื่องราวของพวกเขาเหล่านั้น ผ่าน social media ต่างๆเช่น facebook LINE ได้ตลอดเวลา ดังนั้น สังคมและคนในสังคมก็มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ถ้าจะมองในแง่บวก ก็ต้องบอกว่าการมีอินเทอร์เน็ต social media และ มือถือสมาร์ทโฟน ทำให้ความสัมพันธ์ของคนเราใกล้ชิดกันมากขึ้น เพียงแต่ว่า มันเกิดขึ้นในรูปแบบของโลกเสมือนหรือโลกดิจิตอลนั่นเอง
จึงทำให้บางคนมองว่า การใช้เวลาอยู่กับมือถือนานๆ หรือ ท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตนานๆ อาจทำให้สูญเสียในเรื่องของการเข้าสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีกแง่มุมหนึ่ง ก็คือ เกิดสังคมในรูปแบบใหม่ นั่นคือ สังคมออนไลน์นั่นเอง



ถาม: การสื่อสารในยุคดิจิตอลสามารถช่วยในการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง



คำถามนี้ สามารถตอบได้ง่ายมาก เพราะ ในฐานะ วิทยากรด้านการสื่อสาร และ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจออนไลน์ ต้องบอกเลยว่า ปัจจุบันเมื่อมีเรื่องของเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ ก็สามารถเปิดโอกาสให้กับทุกๆคนได้สามารถสร้างรายได้กันอย่างง่ายดายมากขึ้น การที่เราจะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่าง อาจจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าอดีตอย่างมาก ถ้าเราสามารถรู้จักใช้ช่องทางออนไลน์ และ ประโยชน์ของเทคโนโลยีได้เต็มที่ ก็จะทำให้สร้างรายได้และสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ยากนัก

สำหรับเรื่องของ การสื่อสาร แน่นอนว่า พอมาถึงในยุคของการที่คนเรา เสพเนื้อหา หรือ content กันอย่างเป็นปกติและมีเนื้อหาและ content เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องใส่ใจในการสื่อสารของตนใน 2 มุมมอง

นั่นคือ ต้องให้ความสำคัญ ว่า คนที่คุณต้องการสื่อสารด้วย หรือ กลุ่มลูกค้าที่ธุรกิจของคุณต้องการสื่อสารนั้น เป็นใคร มีพฤติกรรมอย่างไร มีพฤติกรรมการใช้งานสื่อไหนหรือช่องทางไหนเป็นหลัก รวมทั้ง มีความชื่นชอบในรูปแบบของเนื้อหาและ content แบบไหน และ อีกส่วนที่สำคัญ ก็คือ เนื้อหาที่นำเสนอจะทำออกมาอย่างไร ให้สามารถส่งเสริมธุรกิจของคุณได้ รวมถึงไม่ไปซ้ำหรือลอกเลียนกับธุรกิจคู่แข่ง เพราะนั่นจะทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณดูแย่ รวมถึง อาจจะส่งผลถึงชื่อเสียงลบกับธุรกิจของคุณได้ด้วย

ปัจจุบัน การสื่อสารในเชิงธุรกิจ และ กิจกรรมทางการตลาด สามารถมีออกมาใน 3 รูปแบบหลักๆที่ใช้ในช่องทางออนไลน์ คือ
1 รูปแบบตัวหนังสือหรือบทความ
2 รูปแบบรูปภาพภาพเคลื่อนไหว และ
3 รูปแบบของวีดีโอ

นี่คือ รูปแบบหลักๆของการสื่อสารในยุคดิจิทัล แต่สิ่งที่สำคัญกว่ารูปแบบ นั่นคือ เนื้อหาหรือสิ่งที่ธุรกิจพยายามจะสื่อออกไป ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากกว่ารูปแบบ

และเมื่อสามารถสื่อสารในสิ่งที่ธุรกิจต้องการจะบอกออกไปแล้ว กลุ่มผู้รับสารหรือลูกค้าเป้าหมายชื่นชอบ ถูกใจ ก็ไม่ใช่เรื่องยากนักที่จะทำให้ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ธุรกิจก็อยู่ได้ ร่วมถึง ลูกค้าก็ได้ประโยชน์ เช่นกัน



ถาม: การสื่อสารในยุคดิจิตอลกับพนักงานในองค์กรมีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร



แน่นอนว่า จากสิ่งที่ผมได้เล่าไปก่อนหน้านี้ ในเรื่องของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ รวมถึงเราๆท่านๆ มันก็หนีไม่พ้นที่แน่นอนว่า ในทุกๆองค์กร การสื่อสารของคนในองค์กร ก็ได้รับผลกระทบเหล่านั้นไปด้วย ซึ่งในจุดนี้ ผมอยากจะให้ทุกบริษัทและองค์กรทำความเข้าใจและใส่ใจกับการสื่อสารแบบดิจิทัล ที่เกิดขึ้นกับคนในองค์กรของคุณให้ดีๆ

เพราะเนื่องมาจากว่า การสื่อสารในยุคนี้ มันทำให้แยกได้ยากว่านี่คือการสื่อสารในรูปแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ ยกตัวอย่างเช่น บางบริษัทพยายามจะใช้ช่องทางการสื่อสารที่เป็นช่องทางแบบทั่วไป (คือไม่เป็นทางการ) อย่างการใช้ ไลน์ส่วนตัว ในการสั่งงาน คุยเรื่องงาน หรือ แม้กระทั่งใช้เป็นโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันในองค์กร ถามว่าผิดหรือไม่ ในการกระทำรูปแบบนี้ก็ไม่ได้มีกฎหมายหรือบทลงโทษหรือมีข้อบังคับใดๆในการใช้การสื่อสารแบบนี้ แต่ จะมีความไม่ปลอดภัยและสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ นั่นคือ การสื่อสารที่ผิดเพี้ยนไป
ตัวอย่างง่ายๆที่เห็นได้ทั่วไป เช่น การสร้างกลุ่มไลน์ Line Group ขึ้นมาเพื่อใช้ในการทำงาน และ ปรากฏว่ามีการส่งข้อความผิดอยู่บ่อยๆเข้ามาในกลุ่ม หรือ แม้กระทั่งมีการลบหรือดึงคนออกจากกลุ่มโดยไม่ได้ตั้งใจหรือตั้งใจก็ตาม รวมถึง การรั่วไหลของข้อมูลในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ และ เสียง ที่หลุดออกไป สามารถใช้ในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่างๆมากมาย จะเห็นได้ว่า เรื่องราวดังกล่าว อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจ และ ในอีกมุมมองหนึ่ง ที่ส่งผลกับตัวพนักงานในองค์กรโดยตรง นั่นก็คือ เป็นการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวของพนักงานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การโทรศัพท์ผ่านไลน์ นั้นจำเป็นจะต้องใช้ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นพนักงานอาจจะต้องสูญเสียโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือ การส่งข้อความสั่งงานและติดต่อสื่อสารกับพนักงานในเวลาส่วนตัว นอกเวลางาน ก็จะยิ่งทำให้พนักงานเริ่มเกิดอาการเบื่อหน่ายและอาจจะเกิดความรำคาญในการทำงานลักษณะนี้

เมื่อ การสื่อสารในยุคดิจิทัล เข้ามาเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรและธุรกิจ รวมถึง พนักงาน เราเองก็มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ใจมันไปพร้อมๆกันด้วย เพราะ ในความมีประโยชน์ของมันอาจก่อให้เกิดโทษได้ด้วยเช่นกัน



ถาม: ถ้ามีน้องๆนักศึกษาหรือผู้ที่ต้องการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร



แนะนำในฐานะ วิทยากรด้านการสื่อสาร ที่จะว่าไปแล้วก็สามารถเรียกตัวเองได้เป็นเหมือน อาจารย์ เช่นกันอย่างที่ได้เล่าไปในตอนต้น ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษา หรือ แม้กระทั่งบุคคลทั่วๆไป สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็ย่อมสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้เหมือนกัน โดยสามารถทดสอบหรือทดลองการสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้ด้วยตัวของเขาเอง เพื่อมองหาว่า สิ่งใดหรือรูปแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวของพวกเขา โดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปรอทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ สามารถเริ่มได้ทันทีและเดี๋ยวนี้

ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราชอบการสื่อสารในลักษณะของการใช้เสียง ปัจจุบันที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ การทำช่องพอดคาร์ส Podcast หรือ ถ้าให้เรียกง่ายๆก็คือ การทำคลื่นวิทยุผ่านช่องพอดแคสต์ Podcast ด้วยตัวของคุณเอง หรือ ถ้าคุณชอบงานเขียน ชอบบทความ ก็สามารถเริ่มสร้างบล็อก Blog ลงบทความของคุณได้ทันที เพราะ เว็บไซต์สมัยนี้ เปิดพื้นที่ให้เขียนบทความได้อย่างฟรีๆมากมาย และสิ่งที่ทุกวันนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก นั่นก็คือ youtuber หรือ ผู้สร้างวีดีโอบล็อคหรือ Vlog ถ้าคุณชอบการสื่อสารในรูปแบบที่เห็นตัวตน แสดงความเป็นตัวจริงของคุณออกมา ก็สามารถทำได้ทันทีเช่นกัน ทั้งใน facebook และ YouTube โดยใช้มือถือสมาร์ทโฟนที่ก็มีกันอยู่แล้วทุกคน

ดังนั้น ถ้าจะถามว่า จะต้องทำอย่างไรถึงจะได้เข้ามาทำงานที่เกี่ยวกับ การสื่อสารในยุคดิจิทัล ก็บอกได้เลยว่า ไม่จำเป็นต้องรอสิ่งใดๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้ได้รับปริญญา หรือ ไม่จำเป็นต้องรอให้ได้รับเข้าทำงานในองค์กรใดๆท ุกคนสามารถเริ่มได้ทันที เดี๋ยวนี้ และ สิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ความเสมอต้นเสมอปลาย เพราะความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน คุณจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคหลายๆอย่าง เพราะนี่คือ วิถีความเป็นจริงของโลกใบนี้



ถาม: สุดท้ายนี้ อยากให้ฝากผลงาน



สำหรับผม อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ก็ยังเปิดรับในเรื่องของการเชิญไปเป็น วิทยากรด้านการสื่อสาร วิทยากรด้านการตลาดออนไลน์ ที่ปรึกษาธุรกิจออนไลน์ หรือ เรื่องราวเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ ecommerce ซึ่งเป็นทักษะและความถนัดโดยตรงของผม และ หากใครที่ต้องการอ่านบทความเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาดออนไลน์ หรือ เรื่องราวอื่นๆที่เกี่ยวกับแวดวงการตลาดและการทำธุรกิจ ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์หลักของตัวผมได้ที่ brandingchamp.com หรือ ถ้าใครต้องการที่จะพูดคุยกับผมโดยตรงก็สามารถทักไลน์กันเข้ามาได้ที่ไลน์ @brandingchamp



ผู้ให้สัมภาษณ์ : วิทยากรด้านการสื่อสาร อาจารย์ธิติพล เทียมจันทร์
บทสัมภาษณ์ / เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : เอกลักษณ์ VR