อาชีพหลังเกษียณ

อาชีพหลังเกษียณ โครงการ,หลักสูตร ที่ไทยต้อง เตรียมตัว สู่ สังคมสูงวัย โดยวิทยากรชื่อดัง


อาชีพหลังเกษียณ


อาชีพหลังเกษียณ หากใครได้ติดตามข่าวของประเทศญี่ปุ่นที่มีการขึ้นภาษีอุปโภคบริโภคหรือที่บ้านเราเรียกว่า vat ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10%

ล่าสุดทางการญี่ปุ่นได้ออกมาตรการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นเป็น 10% เนื่องมาจากเป็นการช่วยเหลือและนำเงินภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาประเทศ ในด้านการดูแลผู้สูงอายุ

เนื่องมาจากว่าประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ประเทศที่เรียกว่า สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว และ ก็ไม่ต่างกันประเทศไทยจะมีปริมาณผู้สูงอายุหรือบุคคลซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564 ที่กำลังจะถึง

ดังนั้น รัฐบาลรวมถึงประชาชนในสังคมทุกคนจึงจำเป็นจะต้องตระหนักและคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยจะมีผู้เกษียณอายุจากการทำงานเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาจะมีในหลากหลายมิติ ทางสังคมทางเศรษฐกิจ และอื่นๆอีกมากมาย

วันนี้ เราจึงชวนพูดคุยและสัมภาษณ์ความคิดเห็นจาก วิทยากรชื่อดัง ในเรื่องของ สังคมสูงวัย และ การเตรียมตัวก่อนเกษียณ ในกลุ่มของพนักงานราชการหรือเอกชนทั่วไปที่กำลังจะต้องเกษียณอายุในไม่ช้านี้

รวมทั้งเพิ่มปริมาณของจำนวนผู้สูงอายุในไทยจนสูงขึ้นในทุกๆปี เรื่องราวดังกล่าวนี้ จะเป็นปัญหาหรือเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย

เรามาร่วมห้องแลกเปลี่ยนทัศนคติกับวิทยากรการตลาดออนไลน์ อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์


อาชีพหลังเกษียณ



แนวโน้มของการเกษียณอายุ ของคนทำงานในประเทศไทยส่งผลอย่างไรบ้างกับเศรษฐกิจในมุมมองของ คุณ



โดยส่วนตัวแล้ว เรื่องของการเกษียณอายุ ในประเทศไทยซึ่งโดยมากไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชนจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 55 ถึง 60 ปี ตามแต่ นโยบายของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงาน
ซึ่งในเรื่องนี้ก็ สามารถบ่งบอกได้ว่า ในกลุ่มประชากรที่เป็นผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ

จะเป็นกลุ่มที่ มีการเกษียณออกจากงานประจำ หรือ งานที่ทำในบริษัทและองค์กรต่างๆ
ดังนั้น กลุ่มนี้ เป็น กลุ่มที่ค่อนข้างมีศักยภาพอยู่แล้วและยังเป็นส่วนจำเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

ถ้ามองโดยรวมในเรื่องของประสิทธิภาพศักยภาพในการทำงานแล้วละก็ กลุ่มที่เกษียณเมื่ออายุ 55 ถึง 60 ปียังคงมีความสามารถในการทำงานอยู่อย่างมาก

แม้ว่าอาจจะ มีปัญหาบ้างในเรื่องของ สภาพร่างกายแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดรวมถึงอาจจะเป็นส่วนน้อยด้วยซ้ำดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุหลังเกษียณวัยนี้สามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้

ก่อนที่ประเทศไทยเราจะเข้าสู่ สังคมสูงวัยตามประเทศญี่ปุ่นไปอย่างแน่นอน แต่นั่น ก็ขึ้นอยู่กับว่ามุมมองและนโยบายของทางภาครัฐรวมถึง กระแสสังคมที่จะเห็นความสำคัญของคนกลุ่มนี้ หรือ การเตรียมตัวสำหรับคนกลุ่มนี้มากน้อยแค่ไหน

อาชีพ หลังเกษียณ




ภาครัฐและสังคม ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษียณวัยและผู้สูงอายุอย่างไรเพื่อให้ เป็นประโยชน์กับการเปลี่ยนเข้าสู่ Aging Society



ในฐานะ ที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ รวมถึง การได้รับเชิญไปเป็น วิทยากรบรรยาย ในหัวข้อต่างๆทั้งทางด้านธุรกิจ ด้านการตลาดและเทคโนโลยีต่างๆ

โดยส่วนตัวแล้วผมมีความคิดเห็นว่า ทั้งทางภาครัฐและประชาชนทั่วไปซึ่งหมายถึงสังคมโดยรวม ควรจะเล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้

ความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยที่จะมีผู้สูงอายุสูงถึง 20% ในปี 2564 ที่ใกล้เข้ามานี้พูดง่ายๆว่า ใน 10 คนที่เราเดินพบปะอยู่ในปัจจุบันจะมีผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปถึง 2 คนในอีกไม่ช้านี้

ดังนั้น การเตรียมตัวและความพร้อม ในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมลักษณะนี้ ยังมีการให้ความสำคัญและเอาใจใส่ ไม่มากเท่าที่ควร อาจส่งผลกับปัญหาที่ตามมาได้ในหลากหลายมุมมองและมิติ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือสังคมก็ตาม

เรื่องง่ายๆ ที่ผมคิดว่าประเทศไทยรวมทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญ และ เริ่มต้นก็ คือ กลุ่มคนที่จะมีการเกษียณจากการทำงานประจำ ในอีก ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปีข้างหน้า

บุคคลเหล่านี้ จะเป็นกลุ่มประชากรหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในทางกลับกัน คนกลุ่มนี้กับเป็นกลุ่มที่จะไม่มีงานประจำเงินเดือนประจำอีกต่อไป

ความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ จึงควร มองในแง่ของการใช้ศักยภาพของประชากรกลุ่มนี้ให้เต็มที่

รวมถึงผลักดัน สังคมให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศต่างๆโดยใช้ศักยภาพที่ดีที่สุดของคนที่มีประสบการณ์จากการทำงานมาแล้วทั้งชีวิตของพวกเขา

ตัวอย่างง่ายๆ ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่ม คน วัยเกษียณและ กลุ่มผู้ที่ก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุจำเป็นจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าก่อนการเกษียณ



รวมถึง มีการสนับสนุนและจัดหาอาชีพหรือธุรกิจต่างๆให้เหมาะกับกลุ่มคนวัยเกษียณ โดยไม่จำเป็นต้อง สร้างภาระให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงตัวผู้เกษียณและผู้สูงอายุเองก็จะทำให้ สังคมมีแรงขับเคลื่อนที่ดีจากคนกลุ่มนี้



เราจะมีวิธีการอย่างไรหาก มีผู้ใกล้ชิดที่อยู่ในวัยเกษียณและกำลังก้าวเข้าสู่ กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขา มีชีวิตที่มีความสุขรวมทั้งเป็นประโยชน์กับสังคมของประเทศไทยด้วย



การเป็น สังคมสูงวัย ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้อาจไม่ใช่ปัญหา แต่อาจจะเป็นโอกาสเสียด้วยซ้ำ

แต่จะเป็นโอกาสที่ดีหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นเราๆท่านๆหรือภาครัฐเองก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าศักยภาพของคนหลังวัยเกษียณซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 55-60 ปีของประเทศไทยนั้นยังคงมีความสามารถอย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

ดังนั้นสิ่งที่ควรเน้นย้ำ และ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและพัฒนาคนกลุ่มนี้ไปถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว นั่นก็คือ

การหากิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาของตัวบุคคลเพิ่มเติม และ เสริมสร้างให้กับคนกลุ่มนี้อย่างจริงจัง

อันเนื่องมาจากว่า สังคมไทยส่วนใหญ่จะเล็งเห็นในแง่ของการสะสมเงิน เพื่อใช้หลังเกษียณมากกว่าการสร้างอาชีพการสร้างธุรกิจและการสร้างวิถีชีวิตที่ดี

หลังจากมีการเกษียณอายุแล้วนั่นจึงจะกลายเป็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมีความใกล้เคียงกันกับประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะมีปัญหาเรื่องเงินฝืดนั่นก็คือประชากรส่วนใหญ่จะ ไม่ต้องการใช้จ่ายเนื่องจากเป็น สังคมสูงวัย

ประเทศญี่ปุ่นจึงต้องออกมาตรการหลักหลายอย่างเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศ ก้าวหน้าต่อไปโดยไม่ติดขัด

ดังนั้น ที่เห็นได้ชัดล่าสุด นั่นก็คือ การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% เพื่อเอา รายได้ดังกล่าวมาช่วยกลุ่มของผู้สูงอายุ นอกจากนั้น ยังมีมาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ซึ่งนั่นก็คือมาตรการเกี่ยวกับเงินฝากของประเทศญี่ปุ่น คือ การจำกัดดอกเบี้ยเงินฝากให้ต่ำที่สุดถึงขนาด ติดลบกันเลยทีเดียว

ถ้าเปรียบเทียบกันในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่ได้รับมาตรการนี้ ออกมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงวัยหรือบุคคลหลังเกษียณได้มีการนำเงินไปลงทุนหรือค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลาย ให้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเก็บเงินไว้ในบัญชี

เพราะ เหตุผลดังกล่าวในการสะสมเงินไว้และไม่ได้ใช้จ่ายจะเชื่อมโยงไปถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องของเงินเฟ้อที่ได้กล่าวข้างต้น

ดังนั้นสิ่งที่เริ่มได้ดีที่สุดของประชาชนทั่วไปและทางภาครัฐนั่นก็คือการแนะนำและการเสริมสร้าง พฤติกรรมการรักการเรียนรู้และการ ลงทุนสร้างธุรกิจและอาชีพในช่วงบั้นปลายชีวิต

เพราะไม่อย่างนั้น ปัญหาจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยคล้ายกับที่ประเทศญี่ปุ่น ประสบมาก่อน



จะมีข้อแนะนำอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาของประเทศไทยที่จะกลายเป็นสังคมสูงวัยในอนาคต



อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นการเป็นสังคมสูงวัยอาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเทศไทยก็ได้ถ้าเรามีการเตรียมความพร้อมและเอาใจใส่กับประเด็นดังกล่าวเริ่มต้นง่ายๆนั่นคือการควรมีหลักสูตรโครงการหรืองานอบรมต่างๆสำหรับผู้ที่เตรียมตัวก่อนเกษียณ

ตัวอย่าง เช่น การวางแผนการลงทุนสำหรับ ผู้เตรียมตัวเกษียณ หรือ การเสริมสร้างกิจกรรมและการทำธุรกิจ สำหรับผู้สูงวัย เพราะการมีกิจกรรมต่างๆ

รวมถึง กิจกรรมทางด้านการทำธุรกิจนั้นจะเสริมสร้างระบบความคิดรวมถึงทำให้กลุ่มผู้สูงวัย ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่อาจมีผลพวงไปถึงเรื่องทางด้านจิตวิทยาและความแข็งแรงของร่างกายด้วยซ้ำ

รัฐบาลควรสนับสนุนโครงการอบรมการเตรียมความพร้อมสำหรับเข้าสู่วัยเกษียณ

รวมทั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมตัวก่อนและหลังเกษียณเพราะเพื่อเตรียมตัวแล้วพอเกษียณขึ้นมาจริงๆ บางท่านอาจจะพบว่ามีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นหลังจากที่ไม่มีงานประจำทำ

รวมทั้งไม่มีการวางแผนมาก่อนหรือแม้ว่าจะมีการวางแผนมาแล้วคร่าวๆก็ตามแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงหลังวัยเกษียณนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

สิ่งที่น่าสังเกตนั่นก็คือ ประเทศไทย เป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล อย่างชัดเจนแล้ว

และกลุ่มผู้เกษียณอายุ จากนี้เป็นต้นไปก็จะเป็น กลุ่มผู้ที่เกษียณอายุ ไปในยุคที่มีเทคโนโลยีและธุรกิจเกิดใหม่เปลี่ยนแปลงไปทุกๆวัน หรือ แทบจะทุกวินาทีด้วยซ้ำ

หากหยุดการเรียนรู้หรือพัฒนาตัวเองแล้ว กลุ่ม คู่ เกษียณอายุและผู้สูงวัยก็จะไม่สามารถเข้าใจถึงบริบททางสังคมยุคดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นก็เป็นได้

หลักสูตรต่างๆในการพัฒนาศักยภาพของ ผู้เกษียณอายุและผู้สูงวัยจึงควร ให้ความรู้ในเรื่องของการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆด้วย เพราะหากไม่อย่างนั้นแล้วก็จะยิ่งส่งผลให้เป็นปัญหาอย่างมาก



อาชีพหลังเกษียณ




ตัวอย่าง ที่เริ่มมองเห็นในส่วนของปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นนั่นก็คือมีการหลอกลวงหรือต้มตุ๋นทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

และกลุ่มผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมากที่สุดก็จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุอย่างที่เราได้ยินข่าวกันเกือบทุกวัน นี่คือผล ของการ ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนและให้ความสำคัญกับ การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย



อยากให้ฝากข้อคิดและผลงานถ้าอยากพูดคุยสอบถามหรือแสดงความคิดเห็น จะสามารถ ติดต่ออาจารย์ได้ที่ไหน



สำหรับประเด็นในเรื่องของ หลักสูตรและโครงการ ก่อนเกษียณอายุรวมถึงเรื่องของการเปลี่ยนเข้าสู่สังคมสูงวัยนั้น

ผมเองมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ถ่ายทอดความรู้หรือหลักการต่างๆในการช่วยเหลือกลุ่มผู้เตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ

รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุต่างๆที่กำลังมองหาทางออกในการสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับตัวเองเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ หมุนเวียนระบบเศรษฐกิจของประเทศได้มากกว่าการนั่งรอ การสนับสนุนจากทางภาครัฐ

โดยหลักสูตรและโครงการต่างๆก็จะมีขึ้น อยู่บ่อยครั้งซึ่งสามารถติดตามได้ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆโดยอาจจะติดต่อสอบถามไปทางฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายงานประชาสัมพันธ์สำหรับโครงการเหล่านี้



และ หากต้องการแสดงความคิดเห็นร่วมพูดคุยในหัวข้อเหล่านี้กับผม อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี และ ธุรกิจออนไลน์ รวมทั้ง วิทยากรด้านการตลาด และ เทคโนโลยีการสร้างธุรกิจ สามารถทัก LINE มาพูดคุยได้โดยตรงที่ LineID: @brandingchamp

หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ BrandingChamp.com เพื่อ อ่านบทความต่างๆทางด้านธุรกิจการตลาด และบทความให้ ความรู้ด้านต่างๆ ได้อยู่ตลอดเวลา


อาชีพหลังเกษียณ